วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พุทธศักราช 2552
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอำพล เสนาณรงค์ นายพลากร สุวรรณรัฐ นายสวัสดิ์ วัฒนายากร องคมนตรี และนายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลเกี่ยวกับเรื่องโครงการแก้มลิงและรับพระราชทานพระราชดำริ
ตามที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้มีระบบการบริหารจัดการน้ำท่วมด้วยวิธีการที่เรียกว่า "แก้มลิง" ซึ่งเป็นวิธีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติดั้งเดิมของกรุงเทพมหานครที่เป็นพื้นที่ลุ่มรับน้ำตามธรรมชาติ โดยมีพระราชดำริให้จัดหาพื้นที่ลุ่มบึงสระ เป็นที่รองรับน้ำเมื่อฝนตกหนักให้นำน้ำเข้ามาเก็บกักพักไว้ในแก้มลิงเป็นการชั่วคราว เมื่อน้ำในคลองมีสภาพปรกติ จึงระบายน้ำออกจากแก้มลิงโดยการไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) เป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ และยังสามารถใช้อุปโภค - บริโภคในหน้าแล้ง
จากผลการศึกษาระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครภายในคันกั้นน้ำพระราชดำริครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 650 ตารางกิโลเมตร พบว่า หากเกิดฝนตกติดต่อกันภายในเวลา 3 ชั่วโมง จะมีปริมาณน้ำส่วนที่เกินจากระบบระบายน้ำสาธารณะคือ คลองระบายน้ำและสถานีสูบน้ำที่มีอยู่จะรองรับได้ โดยจะมีน้ำส่วนเกินประมาณ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่จะไหลล้นท่อระบายน้ำและคลอง เข้าท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำ ตามถนน ตรอก ซอย ซึ่งกรุงเทพมหานครจะต้องจัดหาแก้มลิงเพื่อรองรับปริมาณน้ำส่วนเกินดังกล่าว ให้เพียงพอเพื่อแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง การจัดหาพื้นที่แก้มลิงของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยใช้แก้มลิงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการหาพื้นที่เพื่อจัดทำแก้มลิงได้ จำนวน 21 แห่ง รองรับน้ำได้ประมาณ 12.74 ล้านลูกบาศก์เมตร โครงการที่สำคัญได้แก่ โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการแก้มลิงนี้ เมื่อปี 2538 กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำปิดกั้นคลองต่างๆ จำนวน 10 แห่ง แล้วเสร็จในปี 2539 ขณะนี้ กรมชลประทานและกรมโยธาธิการและผังเมือง ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินกั้นน้ำทะเล ความยาว 13 กิโลเมตรและก่อสร้างประตูน้ำ 10 แห่งแล้วเสร็จ ทำนบดินสามารถป้องกันน้ำท่วมเขตเทศบาลเมืองสมุทรสาครได้อย่างดีและสามารถบริหารจัดการน้ำได้ในระดับหนึ่ง ปัจจุบันสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ได้ดำเนินการติดตั้งระบบโทรมาตรเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประโยชน์สูงสุดรวมทั้งการจัดหาพื้นที่แก้มลิงในพื้นที่เอกชนเพิ่มเติม
โครงการแก้มลิงบึงหนองบอน เป็นแก้มลิงแห่งหนึ่งในจำนวนทั้งหมด 21 แห่ง ที่กรุงเทพมหานคร จัดหาไว้เป็นพื้นที่รองรับและเก็บกักน้ำชั่วคราวเพื่อป้องกันน้ำท่วม ตั้งอยู่ที่เขตประเวศ มีพื้นที่ทั้งหมด 644 ไร่ 1 งาน 37.5 ตารางวา เริ่มขุดบึงเมื่อปี 2536 โดยใช้พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ และขุดลึกประมาณ 10 เมตร แล้วเสร็จเมื่อปี 2542
การดำเนินการในช่วงปลายหน้าแล้งจะสูบพร่องน้ำโดยเครื่องสูบน้ำให้น้ำในบึงมีระดับต่ำ (ระดับต่ำสุด -7 เมตร) เพื่อรองรับน้ำจากคลองหนองบอนและคลองมะขามเทศในช่วงน้ำหลาก ทำให้สามารถป้องกันและบรรเทาน้ำท่วมขังในพื้นที่เขตประเวศ เขตสวนหลวง และเขตพระโขนงบางส่วนพื้นที่ประมาณ 150 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งลดระดับน้ำในคลองข้างเคียงได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอำพล เสนาณรงค์ นายพลากร สุวรรณรัฐ นายสวัสดิ์ วัฒนายากร องคมนตรี และนายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลเกี่ยวกับเรื่องโครงการแก้มลิงและรับพระราชทานพระราชดำริ
ตามที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้มีระบบการบริหารจัดการน้ำท่วมด้วยวิธีการที่เรียกว่า "แก้มลิง" ซึ่งเป็นวิธีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติดั้งเดิมของกรุงเทพมหานครที่เป็นพื้นที่ลุ่มรับน้ำตามธรรมชาติ โดยมีพระราชดำริให้จัดหาพื้นที่ลุ่มบึงสระ เป็นที่รองรับน้ำเมื่อฝนตกหนักให้นำน้ำเข้ามาเก็บกักพักไว้ในแก้มลิงเป็นการชั่วคราว เมื่อน้ำในคลองมีสภาพปรกติ จึงระบายน้ำออกจากแก้มลิงโดยการไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) เป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ และยังสามารถใช้อุปโภค - บริโภคในหน้าแล้ง
จากผลการศึกษาระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครภายในคันกั้นน้ำพระราชดำริครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 650 ตารางกิโลเมตร พบว่า หากเกิดฝนตกติดต่อกันภายในเวลา 3 ชั่วโมง จะมีปริมาณน้ำส่วนที่เกินจากระบบระบายน้ำสาธารณะคือ คลองระบายน้ำและสถานีสูบน้ำที่มีอยู่จะรองรับได้ โดยจะมีน้ำส่วนเกินประมาณ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่จะไหลล้นท่อระบายน้ำและคลอง เข้าท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำ ตามถนน ตรอก ซอย ซึ่งกรุงเทพมหานครจะต้องจัดหาแก้มลิงเพื่อรองรับปริมาณน้ำส่วนเกินดังกล่าว ให้เพียงพอเพื่อแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง การจัดหาพื้นที่แก้มลิงของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยใช้แก้มลิงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการหาพื้นที่เพื่อจัดทำแก้มลิงได้ จำนวน 21 แห่ง รองรับน้ำได้ประมาณ 12.74 ล้านลูกบาศก์เมตร โครงการที่สำคัญได้แก่ โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการแก้มลิงนี้ เมื่อปี 2538 กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำปิดกั้นคลองต่างๆ จำนวน 10 แห่ง แล้วเสร็จในปี 2539 ขณะนี้ กรมชลประทานและกรมโยธาธิการและผังเมือง ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินกั้นน้ำทะเล ความยาว 13 กิโลเมตรและก่อสร้างประตูน้ำ 10 แห่งแล้วเสร็จ ทำนบดินสามารถป้องกันน้ำท่วมเขตเทศบาลเมืองสมุทรสาครได้อย่างดีและสามารถบริหารจัดการน้ำได้ในระดับหนึ่ง ปัจจุบันสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ได้ดำเนินการติดตั้งระบบโทรมาตรเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประโยชน์สูงสุดรวมทั้งการจัดหาพื้นที่แก้มลิงในพื้นที่เอกชนเพิ่มเติม
โครงการแก้มลิงบึงหนองบอน เป็นแก้มลิงแห่งหนึ่งในจำนวนทั้งหมด 21 แห่ง ที่กรุงเทพมหานคร จัดหาไว้เป็นพื้นที่รองรับและเก็บกักน้ำชั่วคราวเพื่อป้องกันน้ำท่วม ตั้งอยู่ที่เขตประเวศ มีพื้นที่ทั้งหมด 644 ไร่ 1 งาน 37.5 ตารางวา เริ่มขุดบึงเมื่อปี 2536 โดยใช้พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ และขุดลึกประมาณ 10 เมตร แล้วเสร็จเมื่อปี 2542
การดำเนินการในช่วงปลายหน้าแล้งจะสูบพร่องน้ำโดยเครื่องสูบน้ำให้น้ำในบึงมีระดับต่ำ (ระดับต่ำสุด -7 เมตร) เพื่อรองรับน้ำจากคลองหนองบอนและคลองมะขามเทศในช่วงน้ำหลาก ทำให้สามารถป้องกันและบรรเทาน้ำท่วมขังในพื้นที่เขตประเวศ เขตสวนหลวง และเขตพระโขนงบางส่วนพื้นที่ประมาณ 150 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งลดระดับน้ำในคลองข้างเคียงได้